วันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ประวัติความเป็นมาของเสื้อโปโล

 
 
ประวัติเสื้อโปโล 
 
ประวัติความเป็นมาของ เสื้อโปโล มีเสื้อผ้าไม่กี่ชนิดที่ควรค่าแก่การถูกเรียกว่าเป็นแฟชั่นคลาสสิกดังเช่นที่เสื้อโปโลได้รับเสื้อแบบลำลองแขนสั้นนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในตู้เสื้อผ้าของเรา

 ประวัติเสื้อโปโล


แม้คุณอาจจะเคยสวมใส่เสื้อโปโลจากร้าน ขายส่งเสื้อโปโล มาก่อน คุณอาจจะไม่เคยสงสัยเลยว่ามันมีที่มาอย่างไร และทำไมถึงได้ชื่อว่า “เสื้อโปโล” ความจริงแล้วเรื่องราวของเสื้อโปโลเป็นตำนานที่น่าสนใจซึ่งย้อนกลับไปถึงศตวรรษที่ 19 เริ่มจากการที่กองทัพอังกฤษปรับเปลี่ยนรูปแบบเสื้อใส่เล่นกีฬาโปโลขณะที่ประจำการอยู่ในอินเดียโปโลได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมทหารหนุ่มต่อมาแบรนด์เสื้อผ้าชื่อดังได้ฉวยเอาไปทำเป็นเครื่องแต่งกายที่ประธานาธิบดีเลือกใช้จนวันนี้โปโลกลายเป็นเสื้อสารพัดประโยชน์สวมใส่ได้หลายโอกาสอย่างที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน

ปี 1800
ไม่มีใครทราบต้นกำเนิดที่ชัดเจนของ เสื้อโปโล แต่มีบันทึกอย่างกว้างขวางว่าเสื้อชนิดนี้เริ่มเป็นที่รู้จักในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ที่เมืองอันเป็นแหล่งกำเนิดของกีฬาโปโล คือ มานิปูร์ ประเทศอินเดีย หลังจากที่ทหารอังกฤษได้เห็นการแข่งขันโปโลขณะที่พวกเขาประจำการอยู่ที่เมืองนี้ พวกเขาก็ได้ก่อตั้งสมาคมโปโลขึ้นในตอนนั้น
กีฬาประเภทนี้เริ่มเป็นที่นิยมในหมู่ผู้เล่นที่เป็นทหารในกองทัพอังกฤษและผู้ปลูกชาชาวอังกฤษจากความนิยมในตัวกีฬาก็ขยายมาเป็นการสร้างอุปกรณ์และเครื่องแบบที่ใช้ในการเล่นโปโลโดยเฉพาะซึ่งประกอบด้วยเสื้อที่ทำจากฝ้ายแขนยาวและเนื้อหนาแต่เสื้อแบบนี้สวมใส่ไม่สบายนักพวกเขาจึงใส่ปกเสื้อที่มีกระดุมเพิ่มเข้าไปเพื่อช่วยกันไม่ให้เสื้อกระพือเวลาที่ควบม้าอยู่ในสนาม กีฬาประเภทนี้ถูกนำมาเล่นแพร่หลายในอังกฤษในปี 1862

ช่วงปลายปี 1800

ปลายศตวรรษที่ 19 จอห์น อี บรู๊คส์ หลานชายผู้ก่อตั้งบริษัท บรู๊คส์ บราเธอร์ส ในสหรัฐอเมริกา ได้เดินทางมาท่องเที่ยวยุโรปและแวะที่อังกฤษ ขณะที่นั่งดูการแข่งขันโปโล เขาได้สังเกตความพิเศษบางอย่างของคอเสื้อที่ผู้เล่นสวมใส่อยู่ นั่นคือ คอเสื้อมีกระดุมกลัดลงเพื่อป้องกันไม่ให้มันกระพือลม.
จอห์นรู้สึกประทับใจกับคอเสื้อแบบที่เห็น เขาจึงนำความคิดนี้กลับไปที่ บรู๊คส์ บราเธอร์ส เพื่อดัดแปลงคอเสื้อแบบกลัดกระดุมลงให้กลายเป็นเสื้อแบบสวม

เสื้อแบบนี้ได้นำออกขายในปี1896 และกลายเป็นสัญลักษณ์ของเสื้อกลัดกระดุมแบบทางการ ซึ่งเปลี่ยนโฉมหน้าของเครื่องกายบุรุษไปตลอดกาลจนเสื้อโปโลถูกขนานนามว่า “เสื้อที่ถูกเลียนแบบมาที่สุดในประวัติศาสตร์วงการแฟชั่น”  บรู๊คส์ บราเธอร์สยังคงเรียกเสื้อของพวกเขาว่า เสื้อโปโล ดั้งเดิม

The original Brookes Borther Polo-Shirt

ปี 1920

ปี 1920 เป็นช่วงสำคัญอีกช่วงหนึ่งของพัฒนาการของ เสื้อโปโล ผู้จำหน่ายเครื่องแต่งกายบุรุษและนักกีฬาโปโลชาวอาเจนติน่า – ไอริช นามว่าลูอิส เลซีย์ ได้เปิดร้านจำหน่ายเครื่องแต่งกายบุรุษที่บัวโนส ไอเรส และเริ่มจำหน่ายเสื้อโปโลที่ปักรูปนักกีฬาโปโลไว้บนเสื้อ

ปี 1926
Lacoste modelling a very early version of the polo shirt, starched collar

อีกหนึ่งบุคคลสำคัญที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบของเสื้อโปโลที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ คือ นักเทนนิสชาวฝรั่งเศสผู้เป็นตำนาน ฌอง เรอเน่ ลาคอสต์ (1904 – 1996) ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องในฐานะเป็นผู้ผลิต “ประดิษฐ์” เสื้อโปโล สมัยใหม่ เครื่องแบบของนักเทนนิสในยุคนั้นก็คล้ายกับเครื่องแบบของนักโปโล คือ สวมใส่ไม่สบายและไม่คล่องตัว ในช่วงต้นปี 1900 “ชุดเทนนิสขาว” เป็นเสื้อแขนยาวกลัดกระดุมขึ้นซึ่งผู้สวมใส่มักต้องม้วนแขนเสื้อขึ้นพร้อมด้วยกางเกงผ้าสักหลาดขายาวและเน็คไทที่เป็นเช่นนี้เพราะเทนนิสเป็นกีฬาที่ดังเดิมสงวนไว้สำหรับชนชั้นสูงรูปแบบเครื่องแต่งกายจึงเน้นให้สมฐานะมากกว่าการใช้งานได้จริง เมื่อเทนนิสเริ่มมีการแข่งขันแพร่หลายมากขึ้น ผู้เล่นก็เริ่มมองหาทางเลือกใหม่ๆเพื่อความได้เปรียบ

ลาคอสต์เล็งเห็นถึงความอึดอัดไม่คล่องตัวเมื่อสวมใส่ชุดเทนนิสแบบที่มีอยู่ตอนนั้นเขาจึงอาศัยฐานะนักเทนนิสอันดับหนึ่งของโลกออกแบบชุดใหม่ที่ตอบสนองความต้องการของตนได้อย่างสมบูรณแบบเขาตัดสินใจเมินเฉยต่อเทรนด์การม้วนแขนเสื้อเมื่ออยู่บน

คอร์ท และออกแบบเสื้อแขนสั้นมาใช้แทนรวมทั้งไม่ทำปกที่อัดแป้งแข็งและทำเสื้อด้านหลังให้ยาวขึ้นแบบที่เรียกว่าหาง “เทนนิส” เพื่อให้สอดเก็บปลายได้ง่ายขึ้น

Lacoste in the polo shirt that looks most like what we know today modern style

นวัตกรรมที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ การใช้เทคโนโลยีผ้าฝ้ายปีเก้(ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นที่บ้านเกิดของ polo-shirts.co.uk ที่นอร์ธ เวสต์) ลาคอสต์ใช้ผ้าฝ้ายปีเก้ซึ่งเป็นรูปแบบการทอที่ทำให้ผ้ามีความทนทานและที่สำคัญที่สุด คือ อากาศถ่ายเทได้สะดวกนี่อาจจะเป็นคุณลักษณะที่ทำให้ดีไซน์ของลาคอสต์ได้รับความนิยมขึ้นมาอย่างรวดเร็วเหนือกว่าผู้ผลิตเดิมที่ใช้ผ้าฝ้ายปกติหลังจากได้ชื่อเล่นว่าจระเข้(ไม่มีประวัติชัดเจนว่าทำไมถึงใช้ชื่อจระเข้อาจจะเป็นเพราะจมูกที่ค่อนข้างใหญ่โตของเขาหรือเพราะเขาชอบกระเป๋าหนังจระเข้มาก)ลาคอสต์ก็ปักโลโก้รูปจระเข้ลงบน เสื้อโปโล ของเขาบางคนกล่าวว่าเสื้อโปโลนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้แบรนด์นี้โดดเด่นขึ้นมาในเรื่องเครื่องแต่งกายสำหรับกีฬา

ลาคอสต์สวมเสื้อตัวนี้ในการแข่งขันเทนนิส US Open Championship ในปี 1926 (ซึ่งเขาเป็นผู้ชนะ) และดีไซน์ของเสื้อตัวนี้กระตุ้นความสนใจของคนทั่วไปเป็นอย่างมากบรรดานักกีฬาทั้งหลายต่างจับจ้องและเริ่มหาทางเปลี่ยนเครื่องแต่งกายดั้งเดิมของตนมาเป็นแบบของเสื้อเทนนิสลาคอสต์ที่เด่นชัดที่สุดก็น่าจะเป็นเสื้อที่ใช้ใส่เล่นกีฬาโปโลอย่างที่เราได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ว่านักโปโลชอบเสื้อผ้าฝ้ายหนาที่กลัดกระดุมลงเพื่อช่วยไม่ให้คอเสื้อกระพือลมตอนนี้พวกเริ่มมองเห็นโอกาสที่จะสวมใส่เสื้อที่เป็นทางการน้อยลงและช่วยให้เล่นในสนามได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

นักโปโลทุกคนหันมาใช้เสื้อที่ทอด้วยผ้าฝ้ายปีเก้ สิ่งที่น่าประทับใจกว่านั้น คือ เสื้อแบบใหม่ทำให้พวกเขาสามารถปิดคอเสื้อขึ้นไปเพื่อป้องกันแสงแดดได้ (เห็นจุดเริ่มต้นของเทรนด์ตั้งปกคอเสื้อขึ้นแล้ว!)

ปี 1933
ในปี 1933 ลาคอสต์และอองเดร กิลลิเยร์ ผู้เป็นเพื่อนและผู้ผลิตเสื้อถักไหมพรม ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัท ลาคอสต์ เชิร์ต เพื่อผลิตเสื้อเนื้อนุ่มที่คล้ายคลึงกับเสื้อที่เขาใส่ในปี 1926 เสื้อประเภทนี้กลายเป็นเสื้อกีฬาแบบคลาสสิกในช่วงปลายปี 1940 คำว่า เสื้อ “โปโล” ถูกใช้เพื่อเรียกเสื้อมีปกที่ไม่ได้มีเฉพาะนักโปโลเท่านั้นที่สวมใส่ แต่เป็นทุกคนที่ชื่นชอบเสื้อมีปกเนื้อนุ่มเช่นนี้

ปี 1951

ในปี 1951 ลาคอสต์เกิดความคิดใหม่ที่แสนบรรเจิด เขาขยายรูปแบบของเสื้อเทนนิสขาว เพื่อนำเสนอเสื้อที่มีหลากสีสันให้แก่ลูกค้าลาคอสต์เริ่มจากการนำเสื้อดังกล่าวไปจำหน่ายในอเมริกาความเฟื่องฟูและกระแสการสร้างอัตลักษณ์ส่วนบุคคลยิ่งช่วยเพิ่มความนิยมของ เสื้อโปโล จากการที่ถูกวางตลาดในฐานะ “เครื่องบอกสถานะของนักกีฬาผู้มากความสามารถ”เสื้อโปโลถูกจำหน่ายด้วยราคาปลีกที่สูงลิ่วถึงตัวละแปดเหรียญสหรัฐและกระแสความนิยมเสื้อโปโลลาคอสต์เพิ่มมากขึ้นไปอีกเมื่อถูกวางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าระดับหรูบนถนนเมดิสัน อเวนิวส์
ในปี 1953 เสื้อโปโลกลายเป็นเครื่องแต่งกายคู่ใจของบุคคลสำคัญระดับโลกในยุคนั้น และยิ่งทวีความเป็นที่นิยมมากขึ้นเมื่อประธานธิบดีสหรัฐ ดไวท์ ไอเซนฮาวเวอร์ เลือกสวมใส่เสื้อโปโลลาคอสต์เพื่อเล่นกอล์ฟ

ปี 1954
ในช่วงปีนี้ เฟร็ด เพอร์รี่ นักเทนนิสผู้เป็นตำนานอีกคนหนึ่งตัดสินใจว่าจะสร้างสรรค์เสื้อลาคอสต์ในแบบของตนโดยเลือกใช้ผ้าฝ้ายปีเก้แบบเดียวกันเพอร์รี่ดัดแปลงดีไซน์ของลาคอสต์ด้วยการเพิ่มโลโก้ที่เย็บลงบนเนื้อผ้าแทนที่จะรีบทับลงไป

ความเป็นที่นิยมของเพอร์รี่เป็นการรับรองว่าเสื้อโปโลของเขาสามารถท้าทายดีไซน์ดั้งเดิมของลาคอสต์ได้และกลายเป็นเครื่องแต่งกายทางเลือกสำหรับวัยรุ่นซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนผ่านจากชุดกีฬามาสู่เสื้อผ้าแฟชั่นได้อย่างยอดเยี่ยม

การที่นักโปโลนำ เสื้อโปโล ของลาคอสต์มาสวมใส่เป็นจุดเริ่มที่ทำให้ดีไซน์เสื้อแบบนี้เป็นที่รู้จักกว้างขวางในฐานะเสื้อโปโลแต่กระนั้นเสื้อโปโลกลายเป็นเสื้อโปโลอย่างแท้จริงน่าจะเริ่มขึ้นเมื่อชาวนิวยอร์คนามว่าราล์ฟ ลอเรนก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดของความมีชื่อเสียง

ปี 1972
เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์อีกเหตุการณ์หนึ่งของเสื้อโปโลเกิดขึ้นในปี 1972 เมื่อราล์ฟ ลอเรน ต้องการตั้งชื่อแบรนด์ใหม่ที่สะท้อนความเรียบหรูและเป็นอมตะให้แก่บริษัทผลิตเครื่องแต่งกายลำลองของเขาเสื้อผ้าเขาตั้งชื่อแบรนด์ตามกีฬาของผู้มั่งคั่งและชนชั้นสูง คือ โปโล นอกจากนี้ ราล์ฟ ลอเรนได้รวมชื่อ “เสื้อโปโล” เป็นส่วนหนึ่งในไลน์ผลิตเครื่องแต่งกายแบรนด์โปโล ซึ่งโด่งดังมีชื่อเสียงนับแต่นั้นเป็นต้นมาช่วงปี1980เป็นทศวรรษที่เสื้อโปโลของลาคอสต์และราล์ฟ ลอเรนต่อสู้แย่งชิงเงินในกระเป๋าของคนอเมริกัน ด้วยความที่ราล์ฟ ลอเรนมีชื่อแบรนด์ที่เหนือกว่าประกอบกับลาคอสต์เริ่มอิ่มตัวในตลาดเสื้อโปโลแล้ว ราล์ฟ ลอเรนจึงเป็นผู้ชนะในตลาดนี้แบรนด์นี้จึงกลายเป็นอเมริกันคลาสสิกและเสื้อโปโลก็กลายเป็นสัญลักษณ์ทางสถานะของวิถีชีวิตแบบโปโล

ช่วงปี 1990

ในช่วงปี 1990 เสื้อโปโล กลายเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานเครื่องแต่งกายเชิงธุรกิจแบบลำลองสำหรับอุตสาหกรรมไฮเทคและต่อมาก็แพร่หลายไปยังอุตสาหกรรมประเภทอื่นๆเมื่อกลายเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องแบบการทำงานหลายๆโรงงาน บริษัทก็เริ่มตระหนักถึงความสำคัญของทำเสื้อโปโลที่มีชื่อและโลโก้ของบริษัทตนขึ้นมา



( ที่มา: เนื้อหา (ซีฮอร์ส ออริจินอล) เสื้อโปโลม้าน้ำ เว็บไซต์   http://www.zhorseoriginal.com/  )

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ21 ธันวาคม 2562 เวลา 13:22

    Instead of by using peer-reviewed, journal-published lab tests within the Paleo diet program, or inquiring industry experts through Anthropology and even The field of biology in SMU (that there's lots of!), this great article focused the subsequent most unfortunate investigate and also reasons myths (besides others): https://imgur.com/a/w2NQmOl https://imgur.com/a/vhDhOyv https://imgur.com/a/dIsh4Zu https://imgur.com/a/oI0kRyB https://imgur.com/a/xoJOzpq https://imgur.com/a/9NooqxD https://imgur.com/a/igXxR9Y

    ตอบลบ